คอมแอร์ทำงานยังไง ?

คอมแอร์ระเบิด

" คุณเคยรู้ไหมว่าคอมแอร์ทำงานยังไง ? " ถ้ายังไม่อยาก "ตาย" อย่าล้อเล่นกับคอมแอร์

.
เวลาพวกเราทำงานกันเนี้ย
เคยสงสัยกันไหมครับว่า
จริงๆ แล้วคอมแอร์
มันทำงานยังไงกันแน่🤔
.

** หมายเหตุไว้ก่อนนะว่า
คอมแอร์ในที่นี้คือ
คอมเพรสเซอร์แอร์นะครับ
.

คือผมค่อนข้างมั่นใจว่า
ช่างบ้านเราต่อคอมแอร์ได้ครับ
แต่ที่เข้าใจและอธิบายหลักการ
การทำงานได้อาจจะมีไม่มากเท่าไร
.

วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับ
ว่าที่ถูกต้อง…มันเป็นยังไง
เราจะได้เข้าใจและทำงานได้ปลอดภัย
ถูกต้องกันมากขึ้น 
.

โดยปกติแล้ววงจรที่เราใช้งา
กับแอร์ขนาดเล็กเนี้ยมันจะมีหลายแบบ
ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดแอร์ครับ
โดยพื้นฐานและเป็นที่นิยมที่สุด
เราจะใช้วงจรที่เรียกว่า PSC ครับ
.

แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า ไม่ใช่แอร์ทุกตัว
จะต่อแบบ PSC ได้ ดังนั้นช่างทั้งหลาย
โปรดสังเกตุวงจรที่แอร์ก่อนทำงานด้วยนะครับ

คอมแอร์ระเบิด 1

สำหรับวิธีการต่อวงจรแบบ PSC ก็ตามรูปเลยครับ
คือเราจะเอาคาปาซิเตอร์รันหรือที่เราเรียกแคปรัน 
มาต่ออนุกรมกับขดลวดสตาร์ทของคอมแอร์ครับ
.

ซึ่งตรงนี้ขอเตือนไว้ก่อนเลยนะครับว่า
ใครไม่ใช่ช่างอย่าไปลอง เพราะคอมแอร์ระเบิดได้
ร้อนวิชาตายไม่รู้ตัว ได้ไม่คุ้มเสียนะครับ
แต่อ่านไว้เป็นแนวทางความรู้ได้ครับ 
.

คราวนี้เวลาแอร์ทำงานเนี้ย
ตัว “แคปรัน” กับ “ขดลวดสตาร์ท”
มันจะมีไฟจ่ายให้ตลอด
ไม่ว่าจะเป็นจังหวะคอมแอร์เริ่มทำงาน
หรือ จังหวะที่คอมแอร์ทำงานตามปกติ
.

สำหรับใครที่ไม่ทราบ
จังหวะคอมแอร์เริ่มทำงาน
แอร์จะกินไฟมากกว่าปกติครับ
.

คือมันเป็นจังหวะแทคตัวให้มอเตอร์ในคอมทำงาน
แต่มันจะเร็วมากแค่วินาทีกว่าๆ
หรือเสียววิเท่านั้นนะจังหวะเนี้ย
.

ที่เหลือคือจังหวะที่คอมแอร
ทำงานตามปกติ
ซึ่งจะกินไฟตามปกติครับ

คอมแอร์ระเบิด 2

ในจังหวะแรกที่คอมเริ่มออกตัว
มันต้องการกำลังไฟมากขึ้นกว่าปกติ
เพื่อออกตัวครับ
.
คิดภาพเครื่องบินสมัยก่อน
ต้องมีคนช่วยหมุนใบพัด
ก่อนที่มันจะหมุนเองได้
มันก็ประมาณนั้นแหละครับ
.

แต่ปัญหาคือไฟที่เราจ่ายมันเท่าเดิมตลอด
เพราะเราต่อไฟจากการไฟฟ้านะอย่าลืม
ดังนั้นมันจึงจะไปดึงกำลังไฟเพิ่มที่ “แคปรัน” ครับ
.
เมื่อมันได้กำลังไฟเพิ่มแล้
ที่นี้มันก็มีพลังพอให้คอมเริ่มทำงาน
จังหวะนี้จะทำให้แอร์กินไฟมากขึ้นหลายเท่า
.

แต่แค่เสียววิ เท่านั้น
เพราะงั้นไม่ต้องกังวล
เรื่องค่าไฟมากนัก
.

สิ่งที่ควรระวังก็คือ
จังหวะนี้ขดลวดภายในจะร้อนมาก
ถ้าเกิดจังหวะนี้ติดๆ กัน
ขดลวดจะพังได้ทำให้คอมพังครับ
.
ซึ่งมันจะเกิดได้โดยมาก เพราะไฟตก
หรือมีการปิดเปิดแอร์เล่นบ่อยๆ
(จากประสบการณ์ตรงเด็กๆ ชอบเล่นรีโมทครับ)
ให้ระวังนิดนึง ถ้าไฟตกไฟกระชาก
ให้ปิดแอร์ไปก่อนเลยอย่าเปิ
.

ทิ้งไว้สัก 3-5 นาทีให้ขดลวดมันเย็น
แล้วเราค่อยเปิด มันจะอยู่กับเราได้นานหน่อย
ประหยัดตังค์ได้อีกหลายพัน
.

หลังจากที่ออกตัวได้เรียบร้อย
“ขดลวดสตาร์ท” ไฟจะไหลผ่านน้อยลงครับ
ไฟจะไปไหลผ่านทาง “ขดลวดรัน” แทน
.

เพราะตัวขดลวดสตาร์ทถูกสร้างให้
มีความต้านทานที่สูงกว่าแบบรัน
เมื่อรวมกับความต้านทานภายในของแคปด้วยแล้ว
ไฟจึงไหลผ่านขดสตาร์ทได้น้อยครับ
.

ประเด็นที่น่าสนใจคือ
ถ้าเราต่อผิดสลับกันจะเกิดอะไรขึ้น
เช่นเราต่อ L N สลับ หรือ ต่อ ขั้วที่ แคปสลับ
อันนี้ผมไม่ได้ขู่นะ แต่ขอบอกว่าจองศาลาเถอะครับ
.

คือคุณมีโอกาสตายสูงขึ้นมากผมพูดตรงๆ
ดังนั้น ตรวจสอบให้มั่นใจหลังต่อเสร็จ
และตรวจสอบให้ดีก่อนเดินเครื่อง
บางที่วงจรถูกนะแต่ต่อไม่แน่น
ปัญหาเกิดเหมือนกันต้องระวังด้วย
.

ถ้าใครไม่ใช่ช่างเวลาช่างเขาไปทำงาน
มันก็มีค่าความรู้ ค่าทักษะ
ค่าความเสี่ยงต่อชีวิตที่พวกเขาต้องแบกด้วยนะ
.

อย่าเอาแต่ราคาถูกจนลืมคำนึงถึง
คุณภาพและความปลอดภัยกันนะครับ
.

เป็นห่วงจริงๆ เพราะตลาดเดียวนี้ราคาโหดกันมาก
พอเราจ้างเขาถูกเกินไป
ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงเรื่องคุณภาพ
และความปลอดภัยกันมากขึ้นนะ