เทคนิคการติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง

ระบบสายดิน
 
เทคนิคการติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง มีดังนี้
 
วงจรสายดิน
.

.
>>> จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า 
(จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) 
ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจร
ตัวแรกของตู้เมนสวิตช์
.
>>> ภายในอาคารหลังเดียวกัน
ไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
.
>>> สายดินและสายเส้นศูนย์
สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียว
ที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ 
***ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก 
.
เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดิน
แยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกัน
โดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายเส้นศูนย์
กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน
.
>>> ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของ
อาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของ
อาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย 
ห้ามต่อ !!!สายเส้นศูนย์ และสายดินร่วมกัน
.
>>> ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้ว
ให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตย์
อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์
มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
.
>>> ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 
120/240 V กับระบบไฟ 220 V 
เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
.
>>> การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว 
จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
อย่างที่เคยพูดถึงในบทความก่อนนั้นเอง
.
>>> ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดิน
และขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน 
เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อย
เท่านั้น จะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้
.
>>> วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติ
จะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
.
>>> ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ 
จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย
.
>>> ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้ง
ที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน หรือไม่ก็ต้อง
อยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง 
(สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)
.
>>> ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน 
ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสาย
และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง

.
.
ทั้งหมดนี้ก็คือเทคนิคที่ควรทำทั้งสิน
เพื่อความปลอดภัยนะคะ