มิเตอร์ไฟบ้าน คืออะไรกันหว่า ? ช่างไฟอยากต่อให้ลูกค้าต้องทำยังไงมาดู

มิเตอร์ไฟบ้าน

เคยสงสัยกันไหมครับว่า
เครื่องวัดไฟที่อยู่หน้าบ้านเรา
ที่เราเรียกว่า มิเตอร์ไฟ
จริงๆแล้วมันคืออะไร?

 

เจ้าตัวมิเตอร์ไฟนี้ จริงๆแล้วชื่อเต็ม มันคือ
กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (Kilowatt-hour Meter)
หรือ วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt – hour Meter)

 

เจ้าตัวนี้มันมีหน้าที่
วัดค่าพลังงานไฟฟ้า
ต่อเวลา ที่ใช้ในบ้านเรือน
หรือ ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

โดยมีหน่วยวัดงานไฟฟ้า
เป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) ครับ

 

ในการหมุนของจานหมุนมันเนี้ย
จะมีระบุไว้ ว่าหมุนกี่รอบต่อชั่วโมง
ตัวเลขก็จะแสดงออกมาตาม
ปริมาณพลังงานที่เราใช้

 

Whathour-meter

 

ที่จริงตัวเลขที่กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
ของแต่ละบ้านไม่เหมือนกันนะหลายคนอาจไม่รู้
คือ บางบ้านใช้กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ที่มีจุดทศนิยม
บางบ้านไม่มีจุดทศนิยม

 

Whathour-meter ชนิดจุด

อ่านได้ 2,268.4 หน่วย หรือ 2,268.4 kWh

 

Watthour-meter ชนิดไม่มีจุด

อ่านได้ 8 หน่วย หรือ 8 kWh

 

เจ้าตัวกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

 

มีแบบ 1 เฟส (Single phase kilowatt-hour meter)
และ 3 เฟส (three phase kilowatt-hour meter)

 

แบบ 1 เฟสเราจะเห็นใช้งาน
ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยกันซะมาก

 

แบบ 3 เฟส เราจะเห็นที่โรงงาน
บริษัท โรงเรียน  โรงแรม
เอาเป็นว่า ที่ๆใช้ไฟหนักๆเยอะๆ
จะติดแบบนี้เป็นหลัก

 

ไอ้เจ้าแบบ 1 เฟส ก็มีแยกมาอีก  2 แบบ

แบบแรก คือ ของการไฟฟ้าที่เค้ามาติดตั้งให้เรา

จะมีตัวเลขในการต่อใช้งาน ระบุชัดเจน 1S 2S
S มาจากคำว่า Supply หมายถึง แหล่งจ่าย
และ 1L 2L โดยที่เจ้าตัว L มาจากคำว่า Load
หมายถึง โหลดที่ใช้งาน หรือภาระทางไฟฟ้า

 

Watthour-meter การไฟฟ้า

แบบที่ 2 จะเป็นแบบใช้งานทั่วไป
ใช้งานในระยะสั้นๆหรือเราซื้อมาติดตั้งเอง
จะมีตัวเลขกำกับที่ขั้วเหมือนกัน 1 , 3 , 4 , 5
1,3 ต่อเข้าแหล่งจ่าย 4,5 ต่อเข้าโหลด

 

Watthour-meter ทั่วไป

Watthour-meter 3 เฟส

 

การเลือกใช้งานกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์

 

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า
ขนาดกระแสไฟฟ้าบนหน้าปัด
กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
เวลาเราเลือกใช้งาน มีแบบไหนบ้าง

 

ตัวอย่าง 5(15) ตัวเลขข้างหน้านั้น
จะบอกขนาดของมิเตอร์
คือมิเตอร์ขนาดใช้ไฟปกติได้ 5 A

 

ส่วนตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บ (15)
เป็นค่ากระแสสูงสุดที่มิเตอร์ตัวนั้น
จะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
(โดยปกติประมาณต่อเนื่องไม่เกิน 3 ชั่วโมง)

 

โดยจากตัวอย่างคือ
ทนได้ไม่เกิน 15 Amp

 

ในท้องตลาดบ้านเรา
กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
จะมีขนาดตามนี้

 

1 เฟส : 5(15) , 15(45) , 30(100) , 50(150)
3 เฟส : 15(45) , 30(100) , 50(150) , 200 , 400

 

ส่วนในข้อกำหนดใช้งานให้ดูตามตารางด้านล่างได้เลยครับ

 

Watthour-meter ตาราง

 

ข้อควรระวังในการติดตั้งใช้งานคือ

 

ขนาดสายเมนและกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
ต้องสัมพันธ์กัน เช่นใช้มิเตอร์ 5/15
สายเมนก็ต้องทนได้
ไม่น้อยกว่า 15 Amp ครับ

 

มิเตอร์ที่ดี ต้องมี มอก. มีขั้วต่อลงดิน
และ ระบุชื่อผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตชัดเจน

 

ขนาดกิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์
เหมาะกับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
เช่นทั้งบ้านใช้ไฟ 30 Amp

 

ให้เรานำ 30 x 1.25 = 37.5 Amp
เพื่อความปลอดภัย
และให้เลือกใช้งานตัวที่ทนได้เกิน
37.5 Amp ครับ ในที่นี้ก็คือ 15(45)

***********************************

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น 
(เขตบางบอน กทม.)

สอนให้เป็นช่าง ระยะสั้นเพียง 5 วัน

***********************************
สนใจเรียนติดต่อ

Tel : 081-407-6084 / 02-894-3133-5

Line : @tsc-th หรือกด Link : http://bit.ly/2T0QMb2
Chat Facebook : http://bit.ly/2OI34jb
Website : https://www.tsc-th.com/

Facebook : https://facebook.com/trainingcenter.thai/

แผนที่ : https://goo.gl/maps/L4A9ZJjivLS2